บ้านปากคลองอ่าวระวะบ้านเรือส่วนใหญ่ตั้งอยู่สองฝั่งคลองบริเวณใกล้ปากคลองอ่าวระวะ และแทบทุกบ้านจะมีเรือประมงจอดอยู่หน้าบ้าน เพราะอาชีพหลักของคนในชุมชนคืออาชีพประมงพื้นบ้าน โดยเฉพาะประมงปูม้า แต่ด้วยเพราะบ้านปากคลองอ่าวระวะอยู่ในบริเวณท้องอ่าวตราด การทำประมงปูม้าจึงทำได้ในช่วงหลังฤดูฝนผ่นผ่านไปแล้ว คือประมาณเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ส่วนในช่วงฤดูฝนความเค็มของน้ำทะเลในบริเวณท้องอ่าวลดลงเพราะปริมาณน้ำจืดจากต้นน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลทำให้น้ำทะเลจืด ปูม้าจึงขยับออกไปไกลด้านนอกท้องอ่าว ในช่วงเวลานั้นการชาวประมงทำประมงไม่ค่อยได้มากนัก
เมื่อทำการประมงปูม้าได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ และปริมาณปูม้าในปัจจุบันก็มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับชุมชนอื่นๆ รอบอ่าวตราดและพื้นที่ใกล้เคียง เพราะเป็นระบบนิเวศเดียวกัน จึงเกิดการร่วมกลุ่มกันของคนในชุมชน จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ประมงชายฝั่งบ้านปากคลองอ่าวระวะ และทำกิจกรรมอนุรักษ์พื้นฟูทรัพยากร กำหนดเขตอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณหน้าบ้านขึ้น และมีการทำธนาคารปูม้าแบบโรงเพาะฟักในถังแล้วนำไปปล่อยในทะเลบริเวณเขตอนุรักษ์ที่ชุมชนกำหนดขึ้น หลังจากทำไประยะหนึ่งก็เกิดความกังวลว่าปูที่ปล่อยลงไปในทะเลจะปลอดภัยและสามารถเจริญเติบโตได้มากแค่ไหน จึงเริ่มสนใจว่าจะสามารถทำอะไรได้ โดยเฉพาะหลังจากได้เห็นรูปแบบการทำซั้งเชือกที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งนำไปส่งเสริมและสนับสนุนในพื้นที่อื่นๆ จึงคิดที่จะทำซั้งเชือกในพื่นที่บ้าง
กระบวนการและวิธีการ
พื้นที่ทะเลบริเวณหน้าปากคลองอ่าวระวะมีความลึกไม่มากนักเพียงประมาณ 2 เมตร ไม่สามารถทิ้งซั้งเชือกได้ เพราะซั้งเชือกเหมาะกับพื้นที่ที่มีความลึกเกินกว่า 5 เมตร ชุมชนจึงร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรได้เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยนำเอารูปแบบซั้งเชือกมาดัดแปลง คิดว่าจะใช้แท่นปูนแบบเดียวกับซั้งเชือกเป็นฐานเหมือนกัน แต่แทนที่จะใช้เชือกเส้นยาวเป็นแกนกลางเหมือนซั้งเชือก ปรับเปลี่ยนเป็นเชือกเส้นไม่ยาวมากนัก ประมาณ 1.50 เมตร มัดติดไว้กับแท่นปูนและคลี่เส้นเชือกให้เป็นเส้นเล็ก หลังจากคิดรูปแบบและอยากทดลองทำได้นำรูปแบบดังกล่าวไปปรึกษากับทางศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 จ.ระยอง และได้รับการสนับสนุนจัดทำมาให้กับชุมชน โดยในครั้งแรกนี้ได้รับการสนับุสนุนการผลิตหญ้าทะเลเทียมทั้งสิ้นประมาณ 50 ลูก และในปีถัดมาได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการทำหญ้าทะเลเทียม โดยชาวบ้านร่วมกันทำขึ้นเองจากเงินงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน ตั้งแต่การหล่อแท่นปูนไปจนถึงนำไปทิ้งในทะเล ซึ่งก็มีการปรับรูปแบบและขนาดของแท่นปูนที่เป็นฐานให้เล็กลง เพื่อง่ายต่อการขนย้าย
การทิ้งหญ้าทะเลเทียมในบ้านปากคลองอ่าวระวะ จะทิ้งในบริเวณเขตอนุรักษ์พื้นที่ตั้งแต่ชายหาดออกไปประมาณ 500 เมตร ระยะทางตั้งแต่ปากคลองยาวไปประมาณ 1,500 เมตร ทิ้งเรียงกันเป็นแนว ถ้านับตั้งแต่ปีแรกจนถึงปัจจุบันนี้ทิ้งหญ้าทะเลเทียมในบริเวณเขตอนุรักษ์ไปแล้วกว่า 500 ลูกภายในระยะเวลา 3 ปี คือ ปีแรกประมาณ 50 ลูก ส่วนปีที่ 2และ 3 ซึ่งได้นับงบประมาณสนับสนุนจากบริษัทเอกชน สามารถทิ้งได้ประมาณปีละ 200 ลูก และในปีนี้ก็ยังได้รับงบประมาณเช่นเคย และได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากประมงจังหวัดอีกจำนวน 60 ลูก
ผลที่เกิดขึ้นจากการทิ้งหญ้าทะเลเทียม