head
หน้าแรก         l รู้จักมูลนิธิ         l งานของมูลนิธิ        l บอกเล่าเรื่องราว        l สื่อรณรงค์            ENGLISH

 

งานของมูลนิธิ

ชุมชนชายฝั่งในประเทศไทยตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทยและชายฝั่งทะเลอันดามัน มีความเปราะบางต่อผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การประสบภัยพิบัติต่างๆ เช่น พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, น้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งมีความถี่ที่บ่อยครั้งและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตและสร้างความเสียหายต่อการดำรงชีวิต การสูญเสียทรัพย์สินและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นปรากฏการณ์ที่ซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันจากการเพิ่มความถี่และความรุนแรงภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ รวมถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งสำคัญที่เป็นปัจจัยที่เป็นบ่อเกิดให้ชุมชนชายฝั่งมีความเสี่ยงและเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเนื่องจากชุมชนในบริเวณชายฝั่งเป็นชุมชนที่ดำรงชีวิตและมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ผูกติดอยู่กับทรัพยากรทะเลชายฝั่งโดยตรง และมักไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล

นอกจากนี้ ชุมชนท้องถิ่นยังขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการผลักดันทางนโยบายอย่างหวังผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทเรื่องการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ   ในระดับนโยบาย ถึงแม้ว่าการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะเป็นสิ่งที่ให้ความสำคัญในระดับต้นๆ ของยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ให้ในเรื่อง แต่การดำเนินการในระดับปฏิบัติงานของพื้นที่ยังมีข้อจำกัดเรื่องของประสบการณ์ในการบ่งชี้และการสนับสนุนในเรื่องทางเลือกในการปรับตัวโดยชุมชนที่สามารถปฏิบัติได้จริง มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเน้นการทำงานกับชุมชนชายฝั่งเพื่อเตรียมความพร้อมในการวางแผนปรับตัวของชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยดำเนินการผ่านโครงการ 2 โครงการ ทั้งในภาคตะวันออกและภาคใต้

___________________________________________________

 

โครงการเสริมศักยภาพการปรับตัวของชุมชนชายฝั่งที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากา

อ่าวตราดเป็นระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ที่มีลักษณะกึ่งปิด อ่าวตราดครอบคลุมพื้นที่ปกครอง 8 ตำบลของอำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด คือ ตำบลอ่าวใหญ่ ตำบลห้วงน้ำขาว ตำบลหนองคันทรง ตำบลเนินทราย ตำบลท่าพริก ตำบลตะกาง ตำบลชำราก และตำบลแหลมกลัด และ 3 ตำบลที่เป็นพื้นที่ข้างเคียงคืออำเภอคลองใหญ่ ประกอบด้วย ตำบลหาดเล็ก ตำบลคลองใหญ่ และตำบลไม้รูด อาชีพหลักของชาวบ้านที่อาศัยรอบอ่าวตราด คืออาชีพประมง ส่วนใหญ่เป็นประมงขนาดเล็ก ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทะเลและชายฝั่งทำให้มีเรือประมงพาณิชย์ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่เข้ามาทำการประมงในบริเวณอ่าวตราดเพิ่มขึ้น ขณะที่ชาวประมงในอ่าวตราดก็เพิ่มมากขึ้น ทรัพยากรทะเลเสื่อมโทรม อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมาอากาศ ก็ส่งผลต่อการทำการประมงชายฝั่งเช่นกัน

จากการทำงานที่ผ่านมา มูลนิธิฯได้เห็นถึงศักยภาพของชาวประมงผ่านกระบวนการทำงาน และได้เห็นถึงแหล่งที่มาขององค์ความรู้ของชุมชน ทั้งที่เกิดจากความรู้ที่สั่งสมจากบรรพบุรุษ และประสบการณ์จากการประกอบอาชีพ รวมทั้งความรู้ใหม่ที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกับคนภายนอกชุมชน สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวประมงหลายกลุ่มเริ่มที่จะปรับตัวเองและตั้งรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น แต่สิ่งที่ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนคือ การนำเอาความรู้เหล่านั้นส่งผ่าน หรือถ่ายทอดไปสู่กลุ่มคนที่กว้างขึ้น รวมทั้งทบทวน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเอง ทั้งในด้านการประกอบอาชีพ การจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั่นเป็นเพราะความรู้เหล่านั้นไม่ได้ถูกสกัดออกมาเป็นเรื่องราวที่สื่อสารและเผยแพร่ออกไป จึงทำให้ความรู้ยังคงจำกัดอยู่กับเฉพาะกลุ่มคน แต่อาจจะไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงในวงกว้าง สิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นหากได้มีการรวบรวมและวิเคราะห์ร่วมสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งจัดเป็นชุดความรู้ต่างๆ ออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน          

   วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อรวบรวมและพัฒนาฐานข้อมูลและสื่อการเรียนรู้องค์ความรู้ในการใช้และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
2.เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถชุมชนชายฝั่งในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทะลและชายฝั่งทั้งในพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับการ สนับสนุนจาก MFF และชุมชนรอบอ่าวตราด และวางรากฐานการเชื่อมโยงเครือข่ายชาวประมงในชุมชนรอบอ่าวตราด


   พื้นที่ในการดำเนินการ

โครงการนี้มีพื้นที่เป้าหมายหลัก 2 ตำบลคือ ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ และตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง จังหวัดตราด
ทั้งฝั่งตะวันออกในจังหวัดพัทลุง และฝั่งตะวันตกในจังหวัดตรัง

พื้นที่เป้หมายรองประกอบด้วย ตำบลหาดเล็ก ตำบลคลองใหญ่ ในอำเภอคลองใหญ่ และ ตำบลอ่าวใหญ่ ตำบลห้วงน้ำขาว ตำบลหนองคันทรง ตำบลเนินทราย ตำบลท่าพริก ตำบลตะกาง ตำบลชำราก ในอำเภอเมือง

_________________________________________________

 

โครงการการจัดการประมงในอ่าวตราดบนฐานระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
(Towards an Ecosystem-based Approach to Fisheries Management in Trat Bay)


โครงการการจัดการประมงในอ่าวตราดบนฐานระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (Towards an Ecosystem-based Approach to Fisheries Management in Trat Bay) จะดำเนินการเป็นเวลาสามปี โดยต่อยอดจากผลลัพธ์ของระยะที่หนึ่งและสองของโครงการ REBYC โครงการนี้จะทำงานเพื่อให้เกิดการรับรู้ ความตระหนัก และความเห็นชอบเกี่ยวกับข้อเสนอแนะจากระยะที่สองของโครงการ REBYC และจะส่งเสริมและหนุนเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่าหลากหลายภาคีในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว จากจุดเริ่มต้นของการควบคุมและการห้ามใช้เครื่องมือประมงบางชนิด โครงการนี้จะมุ่งไปสู่การพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยื่นในพื้นที่อ่าวตราด ซึ่งมีความเป็นยุทธศาสตร์และมีการบูรณาการทำงานมากขึ้น

โครงการนี้จะประกอบด้วยสามยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่หนึ่งและสองจะต่อยอดจากข้อเสนอแนะของโครงการ REBYC โดยตรง และยุทธศาสตร์ที่สามจะส่งเสริมให้เกินการจัดการทรัพยากรประมงในพื้นที่อ่าวตราดเชิงบูรณาการและองค์รวมในระยะยาว

เป้าหมายปลายทางคือการสร้างให้เกิดระบบการจัดการทรัพยากรประมงบนฐานระบบนิเวศ (Ecosystem-based Approach to Fishery Management or EAFM) โดยการบูรณาการทำงานระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและองค์กร/หน่วยงายที่หลากหลาย โครงการนี้จะเน้นหลักคิดว่าทรัพยากรปาะมงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบนิเวศซึ่งมีหลากหลายองค์ประกอบ และการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งบนฐานระบบนิเวศ ผ่านการประสานงานและความร่วมมือระหว่างหลากหลายภาคส่วน สามารถช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรประมงและอาชีพประมงได้เป็นอย่างดี

ในการส่งเสริมและหนุนเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรประมงแบบองค์รวม โครงการนี้จะอาศัยแนวความคิดการประเมินความเปราะบางและความเข้มแข็งต่อปัจจัยต่าง ๆ โดยจะทบทวนผลกระทบต่อทรัพยากรประมงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และศึกษาบทบาทของผู้หญิงในภาคประมงพื้นบ้านในพื้นมี่อ่าวตราด


   วัตถุประสงค์และแนวการดำเนินงาน

เพื่อต่อยอดจากข้อเสนอแนะของโครงการ REBYC และดำเนินมาตรการเพื่อให้เกิดการประมงที่รับผิดชอบและยั่งยื่นในพื้นที่อ่าวตราด ติดตามประเมินประสิทธิภาพและผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว และส่งเสริมการจัดการทรัพยากรประมงบนฐานระบบนิเวศที่มีการบูรณาการประเด็นภาวะโลกร้อนและมิติหญิงชาย ผ่านความร่วมมือระหว่างหลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์เฉพาะ

  1. เพื่อต่อยอดจากข้อเสนอแนะของโครงการ REBYC ปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางและลึกละเอียดเกี่ยวกับความเหมาะสมของข้อเสนแนะดังกล่าว ปรับปรุงแก้ไขข้อเสนอแนะถ้ามีประเด็นปัญหาหรือช่องว่าง และนำร่องมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมตามที่ข้อเสนอแนะกำหนด
  2. เพื่อศึกษา ทบทวน และติดตามประสิทธิภาพและผลกระทบด้านเศรษฐกิจสังคมและนิเวศวิทยา จากมาตรการใหม่ในการจัดการทรีพยากรประมงในพื้นที่อ่าวตราด ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาตัวชี้วัดและแบบประเมิน และการรวบรวมสังเคราะห์บทเรียน เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงมาตรการการจัดการทรัพยากรประมงที้กำหนดไว้
  3. เพื่อส่งเสริมและหนุนเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรประมงในพื้นที่อ่าวตราดแบบบูรณาการข้ามภาคส่วน ผ่านการมีส่วนรวมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ครอบคลุมแนวความคิดการจัดการทรัพยากรประมงบนฐานระบบนิเวศ การตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมิติหญิงชายในภาคประมงพื้นบ้าน

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. การจัดการทรัพยากรประมงและกิจกรรมประมงในพื้นที่อ่าวตราดซึ่งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น นำไปสู่การลดการจับสัตว์น้ำพลอยได้ และสภาพเศรษฐกิจสังคมที่ดีขึ้น
  2. ศักยภาพที่สูงขึ้นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรปาะมง ผ่านกลไกประสานความร่วมมือและกระบวนการตัดสินใจที่ดีขึ้น
  3. มีการใช้แนวความคิดการจัดการทรัพยากรประมงบนฐานระบบนิเวศเพิ่มมากขึ้น โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและบทบาทของประมงผู้หญิง ผ่านการหนุนเสริมและความรวมมือจากหลากหลายองค์กร/หน่วยงาน

_____________________________________________________

 

  โครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและกระบวนการประชาธิปไตยต่อการ
จัดทำแผนรองรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นกรอบนโยบายและแผนที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ให้สอดคล้องกับข้อตกลงภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ประเทศไทยมีนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในหลายระดับ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 – 2593 สำหรับเป็นกรอบการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานภายในประเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังพบแผนในระดับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนแม่บทด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการเกษตร ฯลฯ

กระบวนการจัดทำนโยบายและแผนการปรับตัวของประเทศที่ผ่านมามีช่องว่าง และไม่เกิดประสิทธิภาพ อย่างเต็มที่ในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างความตระหนัก และไม่เอื้อต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทุกระดับเชิงบูรณาการสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงกลุ่มคนเปราะบาง สร้างนโยบายบนฐานธรรมาภิบาล สร้างความเสมอภาคหญิงชาย และสร้างความเป็นธรรมในสังคม

วัตถุประสงค์
1.สร้างขีดความสามารถขององค์กรพัฒนาเอกชนและองค์การปกครอง  ส่วนท้่องถิ่นในการประเมินศักยภาพและความเปราะบาง รวมทั้ง  พัฒนามาตรการการปรับตัวที่เหมาะสม
2.เสริมความเข้มแข็งองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรปกครอง  ส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมจัดทำแผนการปรับตัวของประเทศ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.การทำงานเชิงรุกจากภาคประชาชนที่ร่วมกับภาครัฐที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. ขีดความสามารถของภาคประชาชน ในการดำเนินการและติดตามตรวจสอบงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภูมิอากาศของประเทศอันนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. องค์ความรู้และความตระหนักเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและมีตัวอย่างรูปธรรมของงานในพื้นที่

_____________________________________________________

 

โครงการที่ผ่านมา

 

 
loadpp
 
m-newl

54-2

 
book

 
media

cc




fb

 

 

dem
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ad