องค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานเสริมสร้างศักยภาพที่ยั่งยืนให้กับชุมชนอันเปราะบาง ผู้พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบนิเวศทั่วประเทศไทย ดำเนินงานร่วมกับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน กลุ่มเกษตรกรรายย่อย กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันกับป่า และคนบนพื้นที่สูง ในการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และร่วมกันจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างหบักประกันให้เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (มพย.) ก่อตัั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2539 และจดทะเบียนเป็นองค์กรนิติบุคคลอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2542 ดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชุมชนผู้เปราะบางเพื่อให้มีสิทธิในการดำรงอยู่ซึ่งวิถีชีวิตที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างความมั่นใจในความยั่งยืนของระบบนิเวศทีเปราะบางในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (มพย.) มีความหวังถึงอนาคตที่คนไทยทุกคนไม่ว่าเป็นเพศ เชื้อชาติ หรือศาสนาใด ได้มีสิทธิที่เป็นที่ยอมรับอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในการมีสวนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และดำเนินการด้วยหวังว่าในอนาคตคนเล็กคนน้อยผู้เปราะบางเหล่านั้น จะสามารถรวมกันเป็นกลุ่ม เป็นเครือข่ายและสามารถมีอิทธิพลต่อทิศทางการพัฒนาทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ

  • มุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในการเข้าถึง การใช้ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีความรับผิดชอบ สมดุล ยั่งยืน เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ในระยะยาว
  • มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน สามารถมีอิทธิพลต่อระบวนการตัดสินใจและประเมินประสิทธิผลของนโยบายการพัฒนาทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
  • ดำเนินการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่พึ่งพา จัดการทรัพยากรธรรมชาติ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในประเด็นสิทธิชุมชน เพิ่มขีดความสามารถของสตรี การพัฒนาที่ครอบคลุมธรรมาภิบาล โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติอันเป็นกรอบที่ครอบคลุมการทำงานของเรา

ดำเนินงานเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกันทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่พึ่งพาทรัพยากรในการสร้างกระบวนการเพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ควบคู่ไปกับงานภาคสนามและนโยบาย พยายามปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ สู่ความยั่งยืนของงานและองค์กรอย่างต่อเนื่อง.

  1. การศึกษาชุมชน เรียนรู้พื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างให้เกิดจิตสำนึกของพลเมือง ตระหนักรู้ถึงสิทธิและเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่เป็นธรรม นำสู่การสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม/ชุมชนเป้าหมาย
  2. การทำงานร่วมกับพหุภาคีเพื่อสร้างรูปธรรมและจัดทำองค์ความรู้เชิงประจักษ์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนฐานระบบนิเวศ (Evidence based management and innovation based management)
  3. การทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเพศสภาพและกลุ่มผู้เปราะบาง กลุ่มคนชายขอบ สร้างความตระหนักและส่งเสริมกระบวนการพัฒนาสังคมไทยบนฐานความเท่าเทียมและเสมอภาคของเพศที่แตกต่าง
  4. การทำงานร่วมกับเครือข่ายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนานโยบายบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์
  5. การเผยแพร่ข้อมูลและความรู้ที่ได้ดำเนินการจัดทำสู่การสื่อสารสาธารณะ และทุกภาคีได้เข้าร่วมปรับปรุง นำสู่การปรับเปลี่ยนนโยบายธารณะที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมายทำงาน•กลุ่มประมงพื้นบ้าน ประมงขนาดเล็ก
•กลุ่มชาติพันธุ์
•กลุ่มผู้เปราะบาง
ภาคีความร่วมมือ•ชุมชนประมงพื้นบ้าน
•สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
•สมาคมสตรีประมงพื้นบ้านภาคใต้
•สมาคมรักษ์ทะเลไทย
•มูลนิธิอันดามัน
•TCJ
•องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาสังคม
•เครือข่ายประมงพื้นบ้านในประเทศและต่างประเทศ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กรมประมง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กรมป่าไม้
สำนักงานนโยบายและแผนฯ (สผ)
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นักวิชาการ/สถาบันศึกษา
พื้นที่ปฏิบัติงานทะเลตราด จ.ตราด
อ่าวบางตะบูน จ.เพชรบุรี
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Scroll to Top