โครงการการจัดการประมงในอ่าวตราดบนฐานระบบนิเวศอย่างยั่งยืน(Towards an Ecosystem-based Approach to Fisheries Management in Trat Bay)

โครงการการจัดการประมงในอ่าวตราดบนฐานระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (Towards an Ecosystem-based Approach to Fisheries Management in Trat Bay)จะดำเนินการเป็นเวลาสามปี โดยต่อยอดจากผลลัพธ์ของระยะที่หนึ่งและสองของโครงการ REBYC โครงการนี้จะทำงานเพื่อให้เกิดการรับรู้ ความตระหนัก และความเห็นชอบเกี่ยวกับข้อเสนอแนะจากระยะที่สองของโครงการ REBYC และจะส่งเสริมและหนุนเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่าหลากหลายภาคีในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว จากจุดเริ่มต้นของการควบคุมและการห้ามใช้เครื่องมือประมงบางชนิด โครงการนี้จะมุ่งไปสู่การพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยื่นในพื้นที่อ่าวตราด ซึ่งมีความเป็นยุทธศาสตร์และมีการบูรณาการทำงานมากขึ้น

โครงการนี้จะประกอบด้วยสามยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่หนึ่งและสองจะต่อยอดจากข้อเสนอแนะของโครงการ REBYC โดยตรง และยุทธศาสตร์ที่สามจะส่งเสริมให้เกินการจัดการทรัพยากรประมงในพื้นที่อ่าวตราดเชิงบูรณาการและองค์รวมในระยะยาว

เป้าหมายปลายทางคือการสร้างให้เกิดระบบการจัดการทรัพยากรประมงบนฐานระบบนิเวศ (Ecosystem-based Approach to Fishery Management or EAFM) โดยการบูรณาการทำงานระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและองค์กร/หน่วยงายที่หลากหลาย โครงการนี้จะเน้นหลักคิดว่าทรัพยากรปาะมงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบนิเวศซึ่งมีหลากหลายองค์ประกอบ และการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งบนฐานระบบนิเวศ ผ่านการประสานงานและความร่วมมือระหว่างหลากหลายภาคส่วน สามารถช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรประมงและอาชีพประมงได้เป็นอย่างดี

ในการส่งเสริมและหนุนเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรประมงแบบองค์รวม โครงการนี้จะอาศัยแนวความคิดการประเมินความเปราะบางและความเข้มแข็งต่อปัจจัยต่าง ๆ โดยจะทบทวนผลกระทบต่อทรัพยากรประมงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และศึกษาบทบาทของผู้หญิงในภาคประมงพื้นบ้านในพื้นมี่อ่าวตราด

   วัตถุประสงค์และแนวการดำเนินงาน

เพื่อต่อยอดจากข้อเสนอแนะของโครงการ REBYC และดำเนินมาตรการเพื่อให้เกิดการประมงที่รับผิดชอบและยั่งยื่นในพื้นที่อ่าวตราด ติดตามประเมินประสิทธิภาพและผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว และส่งเสริมการจัดการทรัพยากรประมงบนฐานระบบนิเวศที่มีการบูรณาการประเด็นภาวะโลกร้อนและมิติหญิงชาย ผ่านความร่วมมือระหว่างหลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์เฉพาะ

  1. เพื่อต่อยอดจากข้อเสนอแนะของโครงการ REBYC ปรึกษาหารืออย่างกว้างขวางและลึกละเอียดเกี่ยวกับความเหมาะสมของข้อเสนแนะดังกล่าว ปรับปรุงแก้ไขข้อเสนอแนะถ้ามีประเด็นปัญหาหรือช่องว่าง และนำร่องมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมตามที่ข้อเสนอแนะกำหนด
  2. เพื่อศึกษา ทบทวน และติดตามประสิทธิภาพและผลกระทบด้านเศรษฐกิจสังคมและนิเวศวิทยา จากมาตรการใหม่ในการจัดการทรีพยากรประมงในพื้นที่อ่าวตราด ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาตัวชี้วัดและแบบประเมิน และการรวบรวมสังเคราะห์บทเรียน เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงมาตรการการจัดการทรัพยากรประมงที้กำหนดไว้
  3. เพื่อส่งเสริมและหนุนเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรประมงในพื้นที่อ่าวตราดแบบบูรณาการข้ามภาคส่วน ผ่านการมีส่วนรวมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ครอบคลุมแนวความคิดการจัดการทรัพยากรประมงบนฐานระบบนิเวศ การตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมิติหญิงชายในภาคประมงพื้นบ้าน

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. การจัดการทรัพยากรประมงและกิจกรรมประมงในพื้นที่อ่าวตราดซึ่งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น นำไปสู่การลดการจับสัตว์น้ำพลอยได้ และสภาพเศรษฐกิจสังคมที่ดีขึ้น
  2. ศักยภาพที่สูงขึ้นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรปาะมง ผ่านกลไกประสานความร่วมมือและกระบวนการตัดสินใจที่ดีขึ้น
  3. มีการใช้แนวความคิดการจัดการทรัพยากรประมงบนฐานระบบนิเวศเพิ่มมากขึ้น โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและบทบาทของประมงผู้หญิง ผ่านการหนุนเสริมและความรวมมือจากหลากหลายองค์กร/หน่วยงาน
Scroll to Top