เวทีวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาคใต้ ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสของโลก ผ่านกรณีภัยพิบัติภาคใต้

เวทีวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาคใต้ ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสของโลก ผ่านกรณีภัยพิบัติภาคใต้

เวทีวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาคใต้ ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสของโลก ผ่านกรณีภัยพิบัติภาคใต้

by
99 99 people viewed this event.

เวทีวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาคใต้ ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสของโลก ผ่านกรณีภัยพิบัติภาคใต้
…………………………………………………
วันที่ 23 ธันวาคม 2567 ประมวลสถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาคใต้ในรอบปี 2567 โดย กป.อพช. ภาคใต้

วันที่ 24 ธันวาคม 2567 ถอดบทเรียนการจัดการภัยพิบัติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านเวทีฟังเสียงประเทศไทย ร่วมกับ tpbs ภาคใต้
……………………………………………
ณ ห้องมะเดื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
……………………………………………..

หากประเมินปรากฏการณ์จากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วไปทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในช่วงปีที่ผ่านมา พบว่ามีพายุฝน น้ำท่วม โคลนดินถล่ม มีแนวโน้มที่เหตุการณ์ในลักษณะนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมีแนวโน้มที่จะหนักมากขึ้นในอนาคต ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจับของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤติดังรูปธรรมตามที่รับรู้กันผ่านสื่อต่างๆ การแปรปรวนของชั้นบรรยากาศที่ทำให้อุณภูมิที่เป็นผลพวงจากพฤติกรรมของมนุษย์ผ่านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการใช้พลังงานจากฟอสซิลอย่างไร้ขีดจำกัด อันนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “โลกร้อน” หรือ “โลกเดือด” ที่ถึงแม้จะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของประชาคนโลกมาอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้นได้

เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ และภาคอื่นๆของประเทศไทย จึงเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งต้องยอมรับว่าส่วนใหญ่แล้วยังเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ผ่านพ้นไปในแต่ละครั้งคราว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงการตั้งรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในขณะที่การตั้งรับจากภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในภาวะความร้อน น้ำแล้ง น้ำท่วม หรือผลกระทบอื่นๆที่เกิดขึ้นตามมาและนักมากขึ้นในทุกสถานการณ์ รัฐบาลไทยในแต่ละยุคสมัยไม่สามารถสร้างระบบการแก้ไขปัญหาในเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการบริหารจัดการพิบัติภัยได้อย่างที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับบทเรียนที่เกิดขึ้นในหลายครั้งที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวในหลายมิติ

เมื่อพิจารณาจากนโยบายการพัฒนาประเทศ ที่ยังมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงวัตถุและอุสาหกรรม รวมถึงการใช้พลังงานจากฟอสซิล ที่ล้วนเป็นปัจจัยสำคัฐที่ก่อให้เกิดสถานการณ์เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงมากขึ้น อันย้อนแย้งกับสิ่งที่รัฐบาลพยายามไปสร้างข้อตกลงกับประชาคมโลก ที่ต้องการให้สภาพแวดล้อมในประเทศดีขึ้น และจะนำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศและของโลกให้ลดลง หากแต่ยังไม่มีมาตรการที่จะทำให้การใช้พลังงานและกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมลดลงได้จริง และสิ่งเหล่านั้นล้วนนำไปสู่การทำลายที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่กลับนำไปสู่การละเมิดสิทธิชุมชนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

เป้าประสงค์
1. เพื่อประเมินและประมวลสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมของปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2567) อันรวมถึงการละเมิดสิทธิชุมชนด้วย
2. เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นรูปธรรมของปัญหา และทางออกในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ โดยการหยิบยกกรณีภัยพิบัติ(น้ำท่วม)ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ครั้งล่าสุด
3. เพื่อระดมข้อเสนอและจัดทำเป็นนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชนในมิติต่างๆ พร้อมกับการขับเคลื่อนผลักดันให้ข้อเสนอเหล่านั้นสู่การปฏิบัติในทุกระดับ

#คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
#สถานการณ์สิ่งแวดล้อมภาคใต้
#การจัดการภัยพิบัติภาคใต้

Scroll to Top