คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้จัดงาน “สมัชชาสิทธิมนุษยชน เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล ประจำปี 2567” หัวข้อ “Our Rights Our Future สิทธิของเรา อนาคตของเรา”

ทั้งนี้ทาง กสม. รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้แทนภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนใน 5 ประเด็นสมัชชากลุ่มย่อยของปี 2567

ทาง มพย. ได้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการและมีผู้แทนเข้าร่วมเสนอแนะจากการประชุมย่อยห้องที่ 1 สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี ในเวทีย่อยได้ข้อสรุปที่น่าสนใจดังนี้

ปัญหาวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก เยาวชน ผู้หญิง ชนเผ่าพื้นเมือง เพศที่หลากหลาย เกษตรกรรายย่อย ประมงพื้น และคนยากจนทางเศรษฐกิจ

ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนและนำมาสู่ข้อเสนอแนะ

  • การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย: เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับรู้ รับทราบ และตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
  • หลักการดำเนินงาน: ใช้หลักการสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน การจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานในการจัดทำนโยบายและกฏหมาย
  • ฐานข้อมูล: พัฒนาฐานข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศได้ง่าย ใช้ข้อมูลพัฒนานโยบาย แผนงานแบะงบประมาณ
  • การลดก๊าซเรือนกระจก: ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ลดการปล่อยก๊าซที่แหล่งกำเนิด ยุติการค้นหาส่งเสริมการใช้พลังงานฟอสซิล
  • การปรับตัว: ส่งเสริมชุมชนประเมินความเสี่ยง เรียนรู้บริบทพื้นที่ และร่วมจัดทำแผนการปรับตัวในระดับท้องถิ่น
  • ความยุติธรรม: ประชาชนต้องสามารถฟ้องร้องคดีสภาพภูมิอากาศได้บนฐานหลักสิทธิมนุษยชนได้
  • ภาคธุรกิจ: บริษัทที่ผลิตและใช้พลังานฟอสซิลต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่าเต็มความสามารถ
  • การคุ้มครองนักปกป้อง: ปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม
  • กลไก: สร้างกลไกที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนรับมือปรับตัวต่อวิกฤติอากาศตั้งแต่ละดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น กึ่งประเทศ
  • กฏหมายและนโยบาย: สร้างกฎหมายและนโยบายที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศโดยไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และยั่งยืนจากฐานชุมชน
  • การกำกับดูแล : รัฐบาลและรัฐสภา มีบทบาทในการกำกับดูแลและต้องทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยรัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และชมชุม ในการติดตาม

การแก้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายของประชาชนทุกคน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียม

#สมัชชาสิทธิมนุษยชน2567#สิทธิมนุษยชน#วิกฤติสภาพภูมิอากาศ#การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย#ความเป็นธรรมด้านภูมิอากาศ#การพัฒนาที่ยั่งยืน#กลุ่มเปราะบาง#การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง#กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Scroll to Top