ร่วมแลกเปลี่ยนชุดความรุู้การฟื้นฟูปูแสมและระบบนิเวศน์ป่าชายเลนในโครงการป่าในเมืองจังหวัดระยอง

อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในที่ขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลายชีวภาพกลายเป็นอดีต แล้วจะทำอย่างไรให้ความหลากหลายชีวภาพกลับคืนมา เป็นโจทย์ที่กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนบ้านเปร็ดในอยู่ในระหว่างการออกแบบการศึกษา เพื่อหาคำตอบโจทย์วิจัยที่ใช้องค์ความรู้ชุมชนเป็นตัวตั้งโดยนำความรู้นักวิชาการร่วมออกแบบกรอบการศึกษาวิจัยให้มีความน่าเชื่อถือตามหลักการวิจัย เพื่อหาข้อมูลสนับสนุนสมมติฐานของชุมชนถึงปัจจัยที่ทำให้ความหลากหลายชีวภาพหายไปและการฟื้นฟูให้กลับคืนมา วันนี้กลุ่มอนุรักษ์ฯ จึงร่วมแลกเปลี่ยนชุดความรุู้การฟื้นฟูปูแสมและระบบนิเวศน์ป่าชายเลนในโครงการป่าในเมืองจังหวัดระยอง พบว่า ปัจจัยที่ทำให้ปูแสมฟื้นกลับมามีดังนี้

1) การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบการฟื้นฟู ร่วมตัดสินใจ ใช้องค์ความรู้ชุมชนในการฟื้นฟู ร่วมดูแลและใช้ประโยบน์ เป็นหลักสำคัญที่สุด

2). ดินมีสภาพเป็นเลน จากเดิมพื้นที่สญเป็นดินทรายแต่ได้ดินเลนจากตะกอนปากแม่น้ำมาเดิม ทำให้ดินเหมาะกับการทำรูอาศัยของปูแสม 3)การรักษาพืชดั้งเดิมไม่แพ้วถางพืชชั้นล่าง เช่น มีทุ่งถอบแถบ ทุ่งดองดึง ทำให้เป็นที่อยู่อาศัยและหลบภัยของสัตว์น้ำหลากชนิด 4) การขุดร่องแพกตามเส้นทางน้ำเพื่อให้ระบบน้ำหมุนเวียนโดยขุดร่องให้ความกว้างและลึกที่น้ำลดแล้วไม่ขังในร่องแพก พบว่ามีปูสร้างบ้านตามสันร่องจำนวนมาก 5) การสุมซากไม้ที่หักโค่นเป็นที่อยู่และหลบภัยของปู หรือ คอนโดปู 6)การทำเขตไข่แดงพื้นที่500 ไร่ ห้ามจับสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ โดยให้ชุมชนช่วยสอดส่องและเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฏหมาย (มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่บริเวณเขตไข่แดง 6)ไม่ปลูกไม้เสริมในพื้นที่ที่ไม่สอดคล้องนิเวศ หยุดปลูกไม้เสริมจนแน่น

จากปัจจัยข้างต้นทั้งหมด ยกเว้นข้อ 5 คือ สิ่งที่ป่าชายเลนเปร็ดในเคยมีในอดีตแต่ถูกทำลายจากการฟื้นฟูป่าโดยขาดการเคารพการตัดสินใจและองค์ความรู้ของชุมชน จากปัจจัยข้างต้นสนับสนุนสมมติฐานของกลุ่มอนุรักษ์ฯ เส้นทางพิสุจน์สมมติฐาน ต้องใช้เวลาเพราะป่ายังอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ และกับดักกฏหมายป่าสงวนและป่าชายเลนตามมติซ้อนทับกัน การทำแปลงทดลองเพื่อพิสุจน์สมมติฐานชุมชนไม่สามารถทำได้ในทันที ต้องดำเนินการตามขึ้นตอนของรัฐที่ละขึ้นที่ละตอน คล้ายกับว่ารัฐมีประตูให้ชุมชนเข้าไปร่วมแล้วโดยพรบ.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมฯ แต่ประตูจะเปิดได้ ต้องรอให้รัฐซึ่งเป็นผู้ถือกุญแจเป็นผู้ไขประตู เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ถือกุญแจจะร่วมกันระหว่างรัฐกับชุมชน ให้ขึ้นชื่อว่าการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง คือ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ และรับประโยชน์ ในทุกกระบวนการของการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน

ขอบคุณเจ้าหน้าที่และผอ.ส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่เคารพชุดความรู้ชุมชนและนำมาสร้างต้นแบบ

Scroll to Top