กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในทั้งหญิงและชาย จึงได้ร่วมกันปรับปรุงร่องน้ำให้ระบบน้ำในป่าชายเลนหมุนเวียนได้สะดวกเช่นในอดีตและกำหนดแปลงทดลองพร้อมเก็บข้อมูลพันธ์พืช สัตว์ ค่่าความเค็มน้ำในป่าชายเลนและอุณหภูมิน้ำเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบ

ป่าชายเลนชุมชนสำคัญอย่างไรกับคนเปร็ดใน เมื่อย้อนหลังไปปี 41 บ้านเปร็ดในเป็นชุมชนต้นแบบในเรื่องป่าชุมชน มีการกำหนดกติกาในการใช้และดูแลทรัพยากรป่าชายเลนอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฏหมาย ทำให้สิทธิที่ชุมชนในการจัดการป่าชายเลนถูกริดลอน ป่าชายเลนถูกจัดการโดยรัฐเป็นศูนย์กลาง ในปี 2566 กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่งมีนโยบายให้ชุมชนขึ้นทะเบียนป่าชายเลนชุมชน คนเปร็ดในไม่รอช้าในการขึ้นทะเบียนป่าชายเลนชุมชนเพราะมองเห็นว่าเป็นโอกาสที่ชุมชนจะมีสิทธิในการใช้และดูแลป่าชายเลนดังเช่นในอดีต เพื่อฟื้นฟูแหล่งอาหารให้สมบูรณ์ โดยจัดทำแผนบริหารจัดการป่าชายเลน 3 ปี ประกอบการยื่นขึ้นทะเบียนป่าชายเลนชุมชนตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2567 ปัจจุบันเป็นเวลาครึ่งปีแล้วที่รอการพิจารณาอนุมัติจากกรมทช. ในระหว่างรอชุมชนได้ร่วมกันได้กำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ไข่แดงบริเวณคลอง 7-8 เพื่อเป็นแหล่งหลบภัยและเพาะพันธ์สัตว์น้ำ และร่วมมือกับ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีและศูนย์บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลจังหวัดตราด เพื่อออกแบบการศึกษาวิจัยฟื้นฟูความหลากหลายชีวภาพ

ในวันที่ 12 -13 ต.ค. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านเปร็ดในทั้งหญิงและชาย จึงได้ร่วมกันปรับปรุงร่องน้ำให้ระบบน้ำในป่าชายเลนหมุนเวียนได้สะดวกเช่นในอดีตและกำหนดแปลงทดลองพร้อมเก็บข้อมูลพันธ์พืช สัตว์ ค่่าความเค็มน้ำในป่าชายเลนและอุณหภูมิน้ำเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบ ภายใต้สมมติฐานที่เกิดจากประสบการณ์ของชุมชนที่สังเกตุว่า หากแสงแดงส่องเพียงพอ มีพืชคลุมดิน มีดินเลนเป็นร่องและไม่แข็งให้ปูอาศัย และระบบหมุนเวียนน้ำดี จะทำให้ป่าสมบูรณ์มีความหลากหลายชีวภาพ จากการสังเกตุของชาวประมงที่เห็นว่า บริเวณป่าที่ถูกฟ้าผ่า จะมีแสงส่องถึงทำให้มีพืชชั้นล่างปกคลุมพื้นที่จะพบว่ามีปูแสมและหอยในบริเวณดังกล่าว โดยกำหนดแปลงเก็บตัวอย่าง 5 แปลง ในบริเวณเขตอนุรักษ์ไข่แดงซึ่งเป็นป่าปลูก และ อีก 2 แปลงในป่าดั้งเดิม เพื่อเปรียบเทียบกัน แปลงที่ 1 เป็นป่าโปรงแดงฟ้าผ่าปีเดียว แปลงที่ 2 ป่าโปรงแดง แปลงที่ 3 ป่าโปรงแดงฟ้าฝ่า 3 ปี เริ่มมีต้นไม้ขนาดเล็กปกคลุม แปลงที่ 4 ป่าโกงกางฟ้าผ่า แปลงที่ 5 ป่าโกงกาง ส่วนแปลงที่ 6,7 เป็นป่าดั้งเดิมที่มีพืชหลากหลาย

จากการเก็บข้อมูล 5 แปลงขนาดแปลงละ 10 ตารางเมตร พบว่า แปลงที่ 3 ที่เป็นป่าโปรงแดงฟ้าผ่า 3ปีที่แล้ว มีต้นโปรงแดงขนาดเล็กขึ้นปกคลุมพื้นที่ พบจำนวนรูปูแสมอาศัย 30 ตัว (นับจากจำนวนรูปูที่ปูยังอาศัย) พบหอย 3 ชนิด ได้แก่ หอยขี้ค้อน หอยพอก และหอยเทียน ขณะที่แปลงอื่นๆ พบน้อยมาก ซึ่งจะต้องเก็บข้อมูลต่อเนื่องอีก 1 ปี ซึ่งผลการศึกษาจะเป็นไปตามสมมติฐานของชุมชนหรือไม่ ต้องติดตามผลต่อไป ทั้งนี้แผนต่อไปที่ชุมชนจะดำเนินการคือ การทำร่องแพรก และสุมเศษพืชให้เป็นที่อยู่อาศัยและหลบภัยของสัตว์น้ำในบริเวณเขตอนุรักษ์ไข่แดง

ความกระตือรือร้นของคนเปร็ดในในการดูแลฟื้นฟูความหลากหลายชีวภาพอยู่ในสายเลือดมาช้านาน โดยมีเป้าหมายรักษาป่าให้เป็นแหล่งอาหารและงานอาชีพของคนตราดและส่งต่อป่าที่สมบูรณ์ให้ลูกหลานในอนาคต แม้ว่ายังไม่ได้รับการอนุมติขึ้นทะเบียนป่่าชายเลนชุมชนก็ดำเนินการเต็มที่ ดังนั้น หากชุมชนได้รับการอนุมัติเป็นป่าชุมชนแล้วและสามารถดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานในการจัดการป่าชายเลนชุมชน จะยิ่งส่งเสริมให้ป่าชายเลนเปร็ดในกลับมามีความสมบูรณ์ มีความมั่นคงแหล่งอาหารและมีความหลากหลายชีวภาพอีกครั้ง

#สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร#ให้สิทธิชุมชนดูแลและใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน#ป่าชายเลนสำหรับชุมชน#ป่าที่สมบูรณ์คือป่าที่มีความหลายหลายชีวภาพมีความมั่นคงอาหาร#ป่าชายเลนไม่ได้หมายถึงป่าโกงกาง#ต้นไม้หนาแน่นไม่เท่ากับป่าสมบูรณ์#ป่าคาร์บอนเครดิตในแต่ไม้ยืนต้นไม่สนความหลากหลายชีวภาพหรือความมั่นคงอาหาร

Scroll to Top