ทะเลสาบ…….การเปลี่ยนแปลง

ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง  มีการอาศัยบอยู่กับแบบเรียบง่าย ส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านที่ประกอบอาชีพการทำประมงจะมีวิถีชีวิตที่วนเวียนซ้ำๆ กัน คือ ออกหาปลาในตอนเช้าตรู่ และบางคนก็จะมีออกหาปลาในตอนกลางคืน แล้วจะกลับเข้าฝั่งมาอีกทีในตอนเช้า

ชาวบ้านในพื้นที่ของประมงบ้านจองถนน ส่วนใหญ่แล้วจะพบกับปัญหาของพื้นที่ คือ ปัญหาเรื่องของสัตว์น้ำลดลง ทรัพยากรในท้องทะเลลดลง  ชาวบ้านในพื้นที่ทราบดีว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของชาวประมงในพื้นที่ทะเลสาบ เพิ่มมากยิ่งขึ้น  แต่เนื่องจากชาวบ้านมีลักษณะความเป็นอยู่ที่ส่วนใหญ่แล้ว หาเช้ากินค่ำ ในการออกหาปลาในแต่ละครั้ง แต่ก่อน ถ้าสามีออกไปหาปลาภรรยาที่อยู่ที่บ้านก็จะตั้งน้ำแกงรอได้เลย เพราะจะต้องได้ปลามาอย่างแน่นอน ซึ่งมีความแตกต่างกันกับสมัยนี้ ที่ต้องรอให้สามีกลับมาก่อนจึงจะได้ทราบว่า  “วันนี้จะทำกับข้าวอะไร”  

คุณยายปาน  ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่3 บ้านจงเก เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนชาวบ้านในพื้นที่มีการถมดินหน้าบ้าน  ประมาณปีละ  50, 000 บาท เพื่อให้พื้นดินสูงขึ้นและเพื่อป้องกันน้ำที่กัดเซาะตลิ่ง คุณยายปานบอกว่า บ้านของยายเมื่อก่อนมีการถมดินเหมือนกัน วิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ประมงของบ้านจงเก ส่วนใหญ่แล้วจะมีการตั้งบ้านเรือนโดยยกเสาบ้านให้สูง เพื่อป้องกันน้ำท่วม ในปัจจุบัน ชาวบ้านกลัวพายุที่มากับฝน มากกว่าที่จะกลัวน้ำท่วมอีก เนื่องจากในปัจจุบัน กระแสลมทำให้เกิดคลื่นที่สูงขึ้น และทิศทางของน้ำก็มีการไหลที่เปลี่ยน ชาวบ้านในพื้นที่ที่ประกอบอาชีพประมงต่างก็รู้ดีว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความกังวลมากที่สุดของพื้นที่ที่อาศัยติดชายฝั่งทะเล คือการที่คลื่นลมแรง เกิดพายุ และความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมขัง เมื่อเกิดน้ำท่วมหรือเข้าสู่ช่วงลมมรสุม ชาวบ้านประมงก็ไม่สามารถที่จะออกไปหาปลาได้ ก็ทำให้ขาดรายได้ เมื่อสอบถามชาวบ้านในพื้นที่หลายคน ส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านจะเป็นหนี้สิน กู้เงินทั้งในระบบและนอกระบบ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ต้องกู้เพราะ ไมมีเงินหมุนเวียนมาใช้จ่ายในครัวเรือน

เมื่อลองมองย้อนไปเมื่อตอนเกิดน้ำท่วม พายุในหลายๆ ปีที่ผ่านมา  ชาวบ้านยังยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง  ยังดิ้นรนที่จะเอาชนะกับสิ่งที่เกิดขึ้น  ซึ่งต่างกับในปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงของ ภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบที่ตามมาอย่างรุนแรงและตั้งรับอย่างอ่อนแรง

จากสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เครือข่ายชุมชนคนรักษ์ลุ่มน้ำเลสาบ จังหวัดพัทลุง สมาคมรักษ์ทะเลไทย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน ได้ร่วมมือกับทางเทศบาลตำบลจองถนน ดำเนินงานภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพการปรับตัวของชุมชนชายฝั่งที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จังหวัดพัทลุง ร่วมกัน โดยได้รับงบประมาณส่วนหนึ่งจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (UNDP) เข้ามาเริ่มต้น

สนับสนุนให้ชุมชนได้เกิดกระบวนการคิดและริเริ่มที่จะมองถึงอนาคตเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสภาพภูมิอกาศ และปัจจัยอื่นๆ ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่

นายคล้อย แก้วภักดี  แกนนำชาวประมงหมู่ที่ 1 บ้านจองถนน ซึ่งประกอบอาชีพประมง   ได้ให้ความคิดเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่า เมื่อก่อนชาวบ้านสามารถหาปลาริมฝั่งได้ โดยไม่ต้องออกเรือไปไกลจากฝั่ง จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความคิด เรื่องของการจัดการชุมชนชายฝั่งอย่างไร  ให้พี่น้องที่ประกอบอาชีพประมงมีความยั่งยืน ปัญหาที่พบคือ  ชุมชนชายฝั่งในปัจจุบัน ขาดการมีส่วนร่วม จึงทำให้ให้ไม่สามารถแสดงความรับผิดชอบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประมงหน้าบ้านที่เป็นทั้งที่อยู่และที่กิน  เป็นทั้งอาหารและชีวิตที่หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตให้กับชุมชนชายฝั่งมาตลอด สิ่งนี้เมื่อผนวกเข้ากับความแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ยิ่งซ้ำเติมให้ชุมชนมีความอ่อนแอเพิ่มขึ้น

นายคล้อย แก้วภักดี ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การที่หน่วยงานจากภายนอกได้ร่วมกับเทศบาล โดยเข้ามาสนับสนุนและจัดกาทะเลและชายฝั่งรร่วมกันระหว่างชาวบ้าน ภายใต้ โครงการเพิ่มศักยภาพการปรับตัวของชุมชนชายฝั่ง เพื่อการปรับตัว และลดความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในพื้นที่ ตำบลจองถนน หมู่ที่ 1, 3, 4, 5 นั้นนับเป็นกิจกรรมที่จะทำให้ชุมชนชายฝั่งได้ร่วมตัวกันอีกครั้งเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น และคาดว่าน่าจะได้มีการพัฒนาเป็นแนวทางการทำงานของชุมชนชายฝั่งต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้มีการกำหนดแนวทางแผนปฏิบัติการในพื้นที่ชายฝั่งร่วมกัน คือ การปลูกต้นลำพูบริเวณชุมชนชายฝั่งของพื้นที่ประมง การส่งเสริมด้านกองทุนเครื่องมือประมง  ซึ่งกิจกรรมที่เริ่มมีการขยาย ขับเคลื่อนเป็นการหนุนเสริมให้เกิดคนทำงานในพื้นที่ให้มีศักยภาพและเป็นการสร้างแกนนำชุมชนและผู้สนใจ ในการดูแลรักษาทะเล การจัดกิจกรรมดังกล่าว ชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการดำเนินงานในพื้นที่ให้มีก้าวแรก และก้าวต่อๆ ไป ให้กับชุมชน  ลูกหลาน รวมถึงเยาวชน ให้เกิดจิตสำนึกและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันในชุมชน  และถึงเวลาที่ต้องมาร่วมกันรักษาทะเลและร่วมกันแบ่งปันความคิด ความรู้สึก ให้กับพี่น้องชาวประมงชายฝั่งให้สามารถยืนหยัด ด้วยความสามัคคีและการเกื้อกูลกันของคนในชุมชนให้เกิดเป็นพลังมวลชนที่เข้มแข็งต่อไป

เล่าเรื่อง โดย 
นางสาวอุทุมพร  รัตน์หิรัญ 

Scroll to Top