head
หน้าแรก           l รู้จักมูลนิธิ         l งานของมูลนิธิ             l บอกเล่าเรื่องราว           l สื่อรณรงค์             l ENGLISH

 

 

 

dem

ถึงเวลา ชาวนาต้องปรับตัว

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี ทำให้ค้นพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในพื้นที่ตามมา ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนระบบการผลิตจากเพื่อการบริโภคมาเป็นการผลิตเพื่อขาย เป็นผลให้ชาวนาต้องทำนาเพิ่มขึ้น และยิ่งมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์และสภาพพื้นที่ที่เอื้ออำนวยยิ่งทำให้ชาวนาเพิ่มรอบในการทำนามากขึ้น หลายปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการรับประกันราคาข้าวและการรับจำนำข้าว ทำให้ชาวนาหลายคนเพิ่มพื้นที่ทำนาโดยการซื้อนาเพื่อทำนาหรือเช่าพื้นที่ทำนาเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะได้มีพื้นที่ทำการผลิตเพิ่มขึ้น ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกความต้องการของตลาด แต่เมื่อหมดยุคของการรับประกันราคาข้าวและการรับจำนำข้าว ชาวนาก็ต้องปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกลไกตลาดที่เปลี่ยนไป

   

เด็กตราด : ผู้สืบสานการใช้และปกป้องทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง

จากการได้มีโอกาสทำงานร่วมกับกลุ่มเยาวชนในหลายตำบลรอบอ่าวตราด ทั้ง ตำบลไม้รูด แหลมกลัด ชำราก ตะกาง ท่าพริก หนองคันทรง ทำให้เห็นความคิดของคนรุ่นใหม่ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรในชุมชนตนเอง เยาวชนเห็นว่าการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลและชายฝั่งต้องทำให้คนในชุมชนรู้คุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากร โดยเฉพาะเยาวชนด้วยกันเอง โดยการเล่าผ่านสื่อต่างๆ เราพบว่าเยาวชนหลายคนรู้จักแหล่งพืชพันธุ์และสัตว์น้ำทะเลรวมทั้งสามารถหาและใช้ประโยชน์ได้ผ่านการถ่ายทอดของคนในครอบครัว แต่หลายคน ไม่รู้จักแหล่งและการใช้ รวมถึงไม่รู้ว่ามีประโยชน์อย่างไร เนื่องจากขาดการถ่ายทอดวิถีชีวิตให้กับคนรุ่นใหม่

   

หญ้าทะเลเทียม บ้านปากคลองอ่าวระวะ

บ้านปากคลองอ่าวระวะบ้านเรือส่วนใหญ่ตั้งอยู่สองฝั่งคลองบริเวณใกล้ปากคลองอ่าวระวะ และแทบทุกบ้านจะมีเรือประมงจอดอยู่หน้าบ้าน เพราะอาชีพหลักของคนในชุมชนคืออาชีพประมงพื้นบ้าน โดยเฉพาะประมงปูม้า แต่ด้วยเพราะบ้านปากคลองอ่าวระวะอยู่ในบริเวณท้องอ่าวตราด การทำประมงปูม้าจึงทำได้ในช่วงหลังฤดูฝนผ่นผ่านไปแล้ว คือประมาณเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ส่วนในช่วงฤดูฝนความเค็มของน้ำทะเลในบริเวณท้องอ่าวลดลงเพราะปริมาณน้ำจืดจากต้นน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลทำให้น้ำทะเลจืด ปูม้าจึงขยับออกไปไกลด้านนอกท้องอ่าว ในช่วงเวลานั้นการชาวประมงทำประมงไม่ค่อยได้มากนัก
เมื่อทำการประมงปูม้าได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ และปริมาณปูม้าในปัจจุบันก็มีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับชุมชนอื่นๆ รอบอ่าวตราดและพื้นที่ใกล้เคียง เพราะเป็นระบบนิเวศเดียวกัน จึงเกิดการร่วมกลุ่มกันของคนในชุมชน จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ประมงชายฝั่งบ้านปากคลองอ่าวระวะ และทำกิจกรรมอนุรักษ์พื้นฟูทรัพยากร

   

ซั้งเชือก บ้านห้วงบอน

บ้านห้วงบอน หมู่ 5 ตำบลไม้รูด เป็นชุมชนประมงที่อยู่ริมชายหาด มีการทำกิจกรรมอนุรักษ์ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำที่ลดจำนวนลง เพราะอาชีพหลักของชาวบ้านในบ้านห้วงบอนคือ อาชีพประมงชายฝั่ง เรือประมงส่วนใหญีมีขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 3 วา การทำประมงจึงออกไปทำการประมงเพียงบริเวณหน้าหมู่บ้าน ไม่สามารถออกไปยังที่ไกลๆ ได้ กิจกรรมที่ทำมีทั้งการปล่อยพันธุ์ส้ตว์น้ำ และการทำธนาคารปูม้า เพื่อช่วยให้ทรัพยากรสัตว์น้ำฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยจะปล่อยลูกปูที่เพาะฟักในบริเวณริมชายหาดใกล้ๆ ที่ตั้งธนาคารปูม้า หลังจากทำธนาคารปูม้าแล้ว แกนนำกลุ่มมองว่าการปล่อยลูกปูลงสู่ทะเล จำเป็นต้องมีที่อาศัยและหลบภัยให้กับลูกปูที่ปล่อยลงไปด้วย จึงได้นำเอาภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ทำเถากระฉอดเพื่อใช้ดักลูกปลาเก๋ามาใช้เป็นบ้านปู

   

ซั้งเชือก กลุ่มองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ตำบลหาดเล็ก

ประชาชนส่วนใหญ่ตำบลหาดเล็กประกอบอาชีพประมงรายได้หลักมาจาก ปลากระตัก กุ้ง ปลาหมึก ปูม้า การเพิ่มขึ้นของเรือและเครื่องมือประมงรวมทั้งการใช้เครื่อมือประมงที่จับสัตว์น้ำทุกขนาดส่งผลให้สัตว์น้ำทะเลลดลง กลุ่มองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นตำบลหาดเล็ก ต้องการให้อาชีพประมงอยู่ได้ จึงรวมกลุ่มในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ปลูกป่าชายเลน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทุก 2-3 ปี ห้ามเรือปั่นไฟทำประมงชายฝั่ง มีการทำบ้านปลา และทำซั้งเชือก เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลา ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสัตว์น้ำ เนื่องจากซั้งเชือกเหมาะกับนิเวศน์ของตำบลหาดเล็กมากกว่าหญ้าทะเลเทียมเพราะดินเลนจะกลับหมด

   
 

 
loadpp
 
m-newl

54-2

 
book

disater

 
media
ex-drr
 
 
ad